Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44286
Title: | ข้อจำกัดทางกฎหมายภาษีท้องถิ่นต่อการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (ประเภทอาคาร) |
Other Titles: | The restriction on local tax to the real estate business development (building category) |
Authors: | ชินณพัฒน์ ทิพยามงคลเจริญ |
Advisors: | อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ Local taxation Land value taxation Real property tax Real estate business |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัย เรื่องข้อจำกัดทางกฎหมายภาษีท้องถิ่นต่อการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (ประเภทอาคาร) มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีทั่วไปของภาษีท้องถิ่นของประเทศไทยและต่างประเทศ 3) เพื่อศึกษาปัญหาภาษีท้องถิ่นกับการประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 4) เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการส่งเสริมการประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยใช้การวิจัยเชิงวิเคราะห์ โดยการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และหาข้อสรุป ด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสารที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ขอบเขตของการศึกษาเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และปัญหาในการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นที่อาจส่งผลต่อการประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงศึกษาภาษีท้องถิ่นของต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์และหาแนวทางพัฒนากฎหมายภาษีท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการลงทุนภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่จะไม่ศึกษาถึงขั้นตอนการอุทธรณ์และการชำระค่าปรับเพิ่มตามกฎหมายภาษีท้องถิ่นนั้น ๆ ผลจากการศึกษาพบว่ากฎหมายภาษีท้องถิ่นฉบับปัจจุบันได้ประกาศบังคับใช้มาเป็นเวลานาน และไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้ง ไม่ส่งเสริมการประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในท้องถิ่นต่างๆ ได้ และไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ภาษีอากรที่ดีอันประกอบไปด้วย หลักความแน่นอน หลักความเป็นธรรม หลักการอำนวยรายได้ และหลักความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายภาษีท้องถิ่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยกำหนดอัตราภาษีท้องถิ่นขั้นสูงสุดไว้ และให้อำนาจแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดอัตราภาษีที่เหมาะสมกับท้องถิ่นของตนเอง อันจะส่งผลให้เกิดมาตรการบรรเทาภาระภาษีท้องถิ่น เพื่อเป็นการส่งเสริมการประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในท้องถิ่นนั้นๆ |
Other Abstract: | This research of study analysis of the Restriction on Local Tax to the Real Estate Business Development (Building Category) has 4 main purposes: 1) To study the key of real estate business and relevant taxes 2) To study the concept and theory of Local Tax of Thailand and other countries 3) To study the problem of Local Tax in the real estate business 4) To propose appropriate solutions in order to encourage the real estate business by using qualitative research, compiling, analyzing and summarizing on the document in both Thai and foreign languages. The scope of research is involved in the real estate business and problems of Local Tax collection which may have an impact to the real estate business as well as Local Tax in other countries in order to analysis and determine appropriate solutions on Local Tax development and in order to encourage an investment in the real estate business. However, the scope of research is excluded of the appeal procedures and the penalty collection in Local Tax Law. The results of the study analysis showed that the Local Tax law which is currently being enforced has been announced for a long period of time and is not suitable with the current economic or society nowadays as well as the Local Tax is incapable of encouraging an investment in the real estate business and is not in accordance with the good taxation principles which consist of Certainty Principle, Equity Principle, Productivity Principle, Enforceability Principle. Therefore, the researcher would like to propose amendments to the Local Tax Law that is currently being enforced by limiting the maximum tax rate and granting power to each local authority to be able to determine a tax rate as deemed appropriate to their location which will result in Local Tax exemption in order to be able to encourage the real estate business in the local area. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายการเงินและภาษีอากร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44286 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.494 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.494 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chinnaphadd_th.pdf | 1.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.