Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44730
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์-
dc.contributor.authorเรย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-08-24T07:50:20Z-
dc.date.available2015-08-24T07:50:20Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44730-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractที่มาของการวิจัย:ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วมด้วยพบความชุกของเบาหวานขึ้นจอประสารทตาเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ทุกรายจำเป็นต้องตรวจจอประสาทตาปี ละครั้งเป็นมาตรฐาน ดังนั้นการใช้ภาพถ่ายจอประสาทตาของผู้ป่วยเองมาใช้ประกอบการให้คำแนะนำเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่มีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอาจทำให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะแทรกซ้อนคือโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาและโรคหลอดเลือดหัวใจสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจได้ดีขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัย:เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการให้ คำแนะนำผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มี โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาร่วมกับโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยภาพถ่ายจอประสาทตาประกอบในการลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ วิธีการวิจัย:ทำการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะแทรกซ้อนคือโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาและโรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 43 คน โดยผู้ป่วยจะถูกสุ่มเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มให้คำแนะนำการลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจโดยใช้ภาพถ่ายจอประสาทตาประกอบและกลุ่มควบคุม การให้คำแนะนำประกอบด้วยความรู้พื้นฐานของโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน,การควบคุมอาหาร,กิจกรรมทางกาย,การเลิกบุหรี่,การลดความเครียดใช้เวลาประมาณ 6 นาที และเก็บข้อมูลระดับความดันโลหิตโดยใช้ เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ ด้วยตนเองเป็นเวลา1สัปดาห์ , ชั่งน้ำหนัก,วัดรอบเอว, ระดับน้ำตาลสะสม,โคเลสเตอรอล,ไตรกรีเซอไรด์,แอลดีแอลในเลือด, เอชดีแอลในเลือดก่อนและหลังเข้าร่วมวิจัย 3 เดือน ผลการศึกษา: มี ผู้ป่วยกลุ่มศึกษาจำนวน 21 คนและผู้ป่วยกลุ่มควบคุมจำนวน 22 คน ข้อมูลพื้นฐานใน 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน ยกเว้นกลุ่มศึกษาใช้ยากลุ่มปิ ดกั้นแคลเซียมมากกว่ากลุ่มควบคุม หลังปรับข้อมูลพื้นฐาน ความดันโลหิตซิสโตลิค/ความดันโลหิตไดแอสโตลิค / ความดันโลหิตเฉลี่ย ก่อนการศึกษาเท่ากับ140±16/71±10/94±10 และ 132±18/69±10 /90±11 มิลลิเมตรปรอทในกลุ่ม ศึกษาและควบคุมตามลำดับ หลังการศึกษา 3 เดือน การเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตซิสโตลิค/ความดันโลหิตไดแอสโตลิค/ความดันโลหิตเดลี่ยเท่ากับ -8±14/-5±9/-6±9 และ +5±12/-1±9/+1±9 มิลลิเมตรปรอทในกลุ่มศึกษาและควบคุมตามล าดับ (p= 0.01 สำหรับความดันซิสโตลิค, 0.10 สำหรับความดันไดแอสโตลิคและ 0.01 สำหรับความดันโลหิตเฉลี่ย) และมีแนวโน้มว่าผู้ป่วยในกลุ่มศึกษามีกิจกรรมระดับปานกลางและระดับเอชดีแอลในเลือดเพิ่มขึ้น สรุปผลการศึกษา:การใช้ภาพถ่ายจอประสาทตาของผู้ป่วยประกอบการให้คำแนะนำต่อการลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาและโรคหลอดเลือดหัวใจ นั้น สามารถลดความดันซิสโตลิคและความดันเฉลี่ยได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีแนวโน้มว่าผู้ป่วยในกลุ่มศึกษามีกิจกรรมระดับปานกลางและระดับเอชดีแอลในเลือดเพิ่มขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeOBJECTIVE: The aim of the study was to determine the visual feedback effects by showing the patient’s retinal photography for coronary heart disease risk factors reduction in DM2 with DR and CHD. METHODS: Forty three DM2 patients with DR and CHD were prospectively enrolled and randomly assigned into two groups: showing and explaining retinal photography (RP) group and control group. The 6 minutes risk factor reduction education consisting of a basic knowledge of disease and related complications, diet control, physic al activity, smoking cessation, and a stress reduction were provided to both groups. The primary end point was the difference of home blood pressure (BP) between baseline and that at 3 months after the randomization. Home BP was defined as a mean of home BP measured by a digital self-recorder twice a day for 7-consecuetive days. The secondary endpoints were the differences of body weight, waist circumferences, moderate physical activity, smoking rate, HbA1c, and lipid profiles at 3 months. RESULTS: A total of 21 patients in RP group and 22 patients in control group completed the study in a 3 -months period. The baseline characteristics between both groups were similar except for calcium channel blocker (CCB) was used more in RP group.There were no smokers in both groups. Baseline systolic BP/diastolic BP/mean arterial BP were 140±16/71±10/94±10 vs 132±18/69±10/90±11 mmHg for the intervention and control groups respectively. After 3 month the changes in systolic BP/diastolic BP/mean arterial BP were -8±14/-5±9/-6±9 vs +5±12/-1±9/+1±9 mmHg for the intervention and control groups respectively ( p = 0.01 for systolic BP, 0.10 for diastolic BP, 0.01 for mean arterial BP). There is an increasing trend of physical activity and HDL-C in RP group (p = 0.14 for duration of duration of moderate physical activity in 1 week, p = 0.26 for HDL-C) CONCLUSIONS: Visual feedback of patients’ retinal photography for changing CHD risk factors in DM2 with DR and CHD have statistically significant effect on systolic BP reduction. The remaining CHD risk factors were not significantly different between both groups. There is an increasing trend of physical activity and HDL-C in RP group.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.610-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการถ่ายภาพทางการแพทย์en_US
dc.subjectหลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- ผู้ป่วย -- การดูแลen_US
dc.subjectเบาหวานชนิดที่ 2 -- ผู้ป่วย -- การดูแลen_US
dc.subjectจอตาเปลี่ยนแปลงเพราะเบาหวาน -- ผู้ป่วย -- การดูแลen_US
dc.subjectMedical photographyen_US
dc.subjectCoronary heart disease -- Patients -- Careen_US
dc.subjectNon-insulin-dependent diabetes -- Patients -- Careen_US
dc.subjectDiabetic retinopathy -- Patients -- Careen_US
dc.titleผลของการใช้ภาพถ่ายจอประสาทตาของผู้ป่วยประกอบการให้คำแนะนำต่อการลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาและโรคหลอดเลือดหัวใจen_US
dc.title.alternativeVisual feedback of patients’ retinal photograph results for coronary heart disease risk factors reduction in type 2 diabetes mellitus with diabetic retinopathy and coronary heart diseaseen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.610-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
raysriratana_ta.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.