Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44738
Title: | การตรวจวัดและวิเคราะห์อาการสั่นในผู้ป่วยพาร์กินสันและโรคสั่นที่เกิดขึ้นเอง |
Other Titles: | Kinematic analysis of tremor in Parkinson’s disease and essential tremor |
Authors: | สิทธิ เพชรรัชตะชาติ |
Advisors: | รุ่งโรจน์ พิทยศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | โรคพาร์กินสัน -- การวินิจฉัยโรค อาการสั่น -- การวินิจฉัยโรค Parkinson's disease -- Diagnosis Tremor -- Diagnosis |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อหา และ ศึกษาลักษณะของการสั่น ที่จะช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค พาร์กินสันและโรคสั่นที่เกิดขึ้นเองโดยใช้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมาเอง บทนำ อาการสั่นเป็นอาการที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ โดยเฉพาะในโรคพาร์กินสันและ โรคสั่น ที่เกิดขึ้นเอง ถึงแม้ว่าอาการสั่นในขณะวางมือพักสามารถพบได้บ่อยในโรคพาร์กินสัน และ อาการสั่นขณะยกมือและเคลื่อนไหวพบได้บ่อยกว่าในโรคสั่นที่เกิดขึ้นเอง แต่อย่างไรก็ตามในบาง- กรณีก็ไม่สามารถใช้ลักษณะดังกล่าวเพื่อช่วยวินิจฉัยแยกโรคทั้งสองออกจากกันได้ วิธีการวิจัย ศึกษาในผู้ป่วยพาร์กินสัน 19 คน และ ผู้ป่วยโรคสั่นที่เกิดขึ้นเอง 14 คน ที่มารับการตรวจที่คลินิกรักษาโรคพาร์กินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทำการตรวจวัดอาการสั่น โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดการเคลื่อนไหวเชิงมุมแบบสามมิติ โดยติดชุดตรวจจับการเคลื่อนไหวที่ข้อ- แรกของนิ้วชี้ในมือข้างที่มีอาการสั่น และทำการบันทึกข้อมูลขณะผู้ป่วยทำท่าทางต่างๆตาม มาตร-ฐานของการตรวจ ข้อมูลที่ได้จะประกอบด้วย ค่าความแรงของการสั่น (RMS Angular Rate, RMS Angle, Peak Magnitude) ค่าความถี่หลัก (Peak Frequency) และค่าการกระจายตัวของความถี่ (Q)ผลการวิจัย พบว่าผู้ป่วยพาร์กินสันมีคะแนนประเมินอาการสั่นสูงกว่าผู้ป่วยโรคสั่นที่-เกิดขึ้นเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.033) ในผู้ป่วยพาร์กินสันมีความแรงอาการสั่น มากกว่าผู้ป่วย โรคสั่นที่เกิดขึ้นเองในทุกแนวแกนการสั่น โดยเฉพาะในท่าทางวางมือพักและ ท่ายกมือ นอกจากนี้ ยังพบว่าความถี่การสั่นของมือ ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีแนวโน้มต่ำกว่า ผู้ป่วยโรคสั่นที่เกิดขึ้นเองในท่าทางดังกล่าวด้วย และในพาร์กินสันจะมีอาการสั่นเด่นชัดในท่า วางมือพักในขณะที่โรคสั่นที่เกิดขึ้นเองจะสั่นมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวมือ ผลจากการวิเคราะห์อาการ-สั่นในแต่ละแนวแกนพบว่าผู้ป่วยพาร์กินสันมีอาการสั่นเด่นชัดในแนวแกน-X ในท่าวางมือพักและ ท่ายกมือในขณะที่ไม่พบลักษณะดังกล่าวในผู้ป่วยโรคสั่นที่เกิดขึ้นเอง สรุป จากการศึกษาเครื่องตรวจวัดอาการสั่นที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ตรวจวัดและวิเคราะห์ อาการสั่นได้แม่นยำ ได้ข้อมูลที่ไม่แตกต่างจากในตำราและการศึกษาก่อนหน้านี้และยังพบว่า ในผู้ป่วย โรคพาร์กินสันมีลักษณะอาการสั่นของมือที่เด่นชัดในแนวแกน-X โดยเฉพาะในท่าวางมือ-พักและในท่ายกมือ ซึ่งอาจนำมาใช้ช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคทั้งสองได้ในอนาคต |
Other Abstract: | Objective: To measure and determine the tremor characteristics which able to distinguish Parkinson’s disease and Essential tremor by using our developed device. Introduction: Tremor is the most common clinical presentation in patients with Parkinson’s disease (PD) and essential tremor(ET). Although rest tremor often found in PD and essential tremor characterized by bilateral postural and kinetic tremor. There are still have clinical overlaps and also cause diagnostic confusion in these two disorders. Methods: 19 PD and 14 ET patients were enrolled at movement disorders clinic, Chulalongkorn Hospital, Thailand. Tremor was recorded by three-dimensions gyroscopic device which attached to proximal phalanx of index finger. The signal processing utilized fast Fourier transform, and RMS angular rate (deg/s), RMS angle(deg), peak frequency(Hz) and peak magnitude(deg/s) were included as variables in the analysis. Results: The demographic data such as age, sex and disease duration in both disorders were not different. There were significant higher of Fahn-Tolosa-Marin TRS scores in PD than ET. PD patients had higher RMS angular rate, RMS angle and peak magnitude than ET in all axises (P<0.05) in rest and postural position. Rest and postural peak frequency tended to be lower in PD than ET. In PD, rest tremor had higher RMS angular rate, RMS angle and peak magnitude than postural and kinetic tremor while in ET had predominant kinetic and postural tremor. The axis analysis showed rest and postural tremor in PD had higher RMS angular rate, RMS angle and peak magnitude in X-axis than Y and Z-axis (P<0.05) which compared to ET that had no axis predominant. Conclusions: Our results confirmed that rest tremor is associated to PD as in the clinical finding. Interestingly, we found the predominant X-axis tremor in rest and postural positions are important feature which can distinguish PD from ET, further study with larger subjects is needed to confirm this finding. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44738 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1599 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1599 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sitthi_pe.pdf | 9.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.