Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44825
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีณา เมฆวิชัย-
dc.contributor.authorพนิดา กรุดทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.coverage.spatialฉะเชิงเทรา-
dc.date.accessioned2015-08-31T03:30:57Z-
dc.date.available2015-08-31T03:30:57Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44825-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการศึกษาการใช้ถิ่นที่อยู่ของไก่ฟ้าพญาลอ Lophura diardi Bonaparte, 1856 และไก่ป่าตุ้มหูขาว Gallus gallus gallus Linnaeus, 1758 ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม 2554 ถึงเดือนมิถุนายน 2555 การศึกษาการใช้ถิ่นที่อยู่ของไก่ฟ้าพญาลอและไก่ป่าตุ้มหูขาวพบถิ่นที่อยู่ 3 รูปแบบคือ พื้นที่เกาะนอน พื้นที่หาอาหารและพื้นที่ทำรังวางไข่ ไก่ฟ้าพญาลอพบพื้นที่เกาะนอน 2 ที่ พื้นที่หาอาหาร 43 ที่ พื้นที่ทำรังวางไข่ 1 ที่ โดยพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในป่าดิบแล้ง มีระยะห่างจากจุดที่มีกิจกรรมของมนุษย์ระหว่าง 46-2,276 เมตร เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างในฤดูสืบพันธุ์และนอกฤดูสืบพันธุ์ด้วยสถิติ Mann-Whitney U-test ของไก่ฟ้าพญาลอพบว่าพื้นที่หาอาหารมีความแตกต่างของปัจจัย อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ร้อยละของหญ้าปกคลุมพื้นที่และร้อยละของเมล็ดพืชในพื้นที่ ไก่ป่าตุ้มหูขาวพบพื้นที่เกาะนอน 40 ที่ พื้นที่หาอาหาร 20 ที่ และพื้นที่ทำรังวางไข่ 6 ที่ โดยพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในป่ารุ่นสองและป่าปลูกทดแทน มีระยะห่างจากจุดที่มีกิจกรรมของมนุษย์ระหว่าง 12-1,215 เมตร เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างในฤดูสืบพันธุ์และนอกฤดูสืบพันธุ์ด้วยสถิติ Mann-Whitney U-test ของไก่ป่าตุ้มหูขาวพบว่าพื้นที่เกาะนอนมีความแตกต่างของปัจจัย ความชื้นสัมพัทธ์และความหนาแน่นไม้ยืนต้น พื้นที่หาอาหารของไก่ฟ้าพญาลอและพื้นที่หาอาหารของไก่ป่าตุ้มหูขาวเมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติด้วยสถิต t-test พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของปัจจัยความหนาแน่นของไม้ยืนต้น ความหนาแน่นไม้พื้นล่าง ความหนาแน่นเรือนยอด ความหนาแน่นในแนวดิ่ง ความสูงของใบไม้ทับถมบนพื้น ร้อยละของหญ้าปกคลุมพื้นที่ และร้อยละของเมล็ดพืชในพื้นที่ ผลการวิเคราะห์อาหารจากมูลของไก่ทั้งสองชนิดพบว่าไก่ฟ้าพญาลอและไก่ป่าตุ้มหูขาวมีความกว้างของวิถีชีวิตเรื่องอาหารมีค่าเท่ากับ 0.62 และ 0.83 ตามลำดับ มีความคล้ายคลึงกันของชนิดอาหารเท่ากับ 38% มีความแตกต่างระหว่างระยะที่พบไก่ฟ้าพญาลอถึงจุดที่มีกิจกรรมของมนุษย์กับระยะที่พบไก่ป่าตุ้มหูขาวถึงจุดที่มีกิจกรรมของมนุษย์ เมื่อทดสอบด้วย t-test พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ p=0.019en_US
dc.description.abstractalternativeThe habitat utilization of Siamese fireback and white ear-lobed red jungle fowl , in Khao Ang Rue Nai Wildlife Sanctuary, Chachoengsao province, Eastern Thailand was studied during March 2011 to June 2012. Three types of habitat were classified as the roosting, foraging and nesting sites. For the Siamese fireback, there were 2 roosting sites, 43 foraging sites and 1 nesting site found in this study. All habitats were located in dry evergreen forest. The distances from human activities to their habitats ranged from 46-2,276 m. Comparing their habitats between breeding season and non-breeding season, foraging habitat was found to be significantly different in temperature, humidity, total basal ground cover (grasses) and total basal ground cover (seed) (p<0.05). For the white ear-lobed red jungle fowl there were 40 roosting sites, 20 foraging sites and six nesting sites found in this study. All habitats were located in secondary forest and plantation. The distances from human activities to their habitats ranged from 12 -1,215 m. When compare their habitats between breeding season and non-breeding season, roosting site was found significantly different in humidity and tree density (p<0.05). Comparing between Siamese fireback’ s foraging habitats and white ear-lobed red jungle fowl’s foraging habitats, there were significant differences in tree density, ground density, vertical density, canopy cover, depth of ground litter, total basal ground cover (grasses) and total basal ground cover (seed). In fecal analysis, the Siamese fireback had food niche width of 0.62 and the white ear-lobed red jungle fowl had food niche width of 0.83. Niche overlap between Siamese fireback and white ear-lobed red jungle fowl was 38%. The distances from human activities to habitats of the two species were significantly different (p=0.019)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1640-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสัตว์วงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา -- ไทย -- ฉะเชิงเทราen_US
dc.subjectไก่ฟ้า -- ไทย -- ฉะเชิงเทราen_US
dc.subjectไก่ป่า -- ไทย -- ฉะเชิงเทราen_US
dc.subjectเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่าวฤาไนen_US
dc.subjectPhasianidae -- Thailand -- Chachoengsaoen_US
dc.subjectRed junglefowl -- Thailand -- Chachoengsaoen_US
dc.titleการใช้ถิ่นที่อยู่ของไก่ฟ้าพญาลอ Lophura diardi Bonaparte, 1856 และไก่ป่าตุ้มหูขาว Gallus gallus gallus Linnaeus, 1758 ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จังหวัดฉะเชิงเทราen_US
dc.title.alternativeHabitat utilization of Siamese fireback Lophura diardi Bonaparte, 1856 and red jungle fowl Gallus Gallus Gallus Linnaeus, 1758 in Khao and Rue Nai Wildlife Sanctuary Chachoengsao provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสัตววิทยาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1640-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phanida_kr.pdf33.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.