Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46018
Title: การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์
Other Titles: DEVELOPMENT OF DESIRABLE CHARACTERISTICS SCALE FOR NURSING STUDENTS
Authors: ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง
Advisors: ศิริเดช สุชีวะ
โชติกา ภาษีผล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Subjects: การประเมิน
นักศึกษาพยาบาล
Evaluation
Nursing students
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลการวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2)พัฒนาเครื่องมือและคู่มือวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ทั้ง 3 ด้าน 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและคู่มือวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4) กำหนดคะแนนจุดตัดของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3 ด้าน เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเป็นการทดสอบบนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ตัวอย่างการวิจัยเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 จำนวน 1,106 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้โปรแกรม Mplus และ IRTPRO3 ผลการวิจัย พบว่า 1. การวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิศึกษา 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย 4 โมเดล ได้แก่ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบ และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2. เครื่องมือวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยแบบวัด 4 ฉบับ ข้อคำถามเป็นปรนัย อัตนัย และพูดตอบ ความเที่ยงของเครื่องมือทั้ง 4 ฉบับเท่ากับ .791, .853, .880 และ .863 ตามลำดับ การตรวจสอบคุณภาพตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CTT) พบว่า อำนาจจำแนก (r) มีค่าระหว่าง 0.263-0.559 ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) พบว่า พารามิเตอร์อำนาจจำแนก (a) มีค่าระหว่าง 0.77-1.79 และความยาก (b) ของคำถามปรนัยมีค่าระหว่าง -0.88-0.12 ส่วนอัตนัยและพูดตอบมีลักษณะ Threshold เรียงลำดับ (β2>β1) ได้แก่ อัตนัยมีค่าระหว่าง 0.30-6.78 และพูดตอบมีค่าระหว่าง 0.25-6.52 3. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันบ่งชี้ความตรงเชิงโครงสร้างของเครื่องมือทั้ง 4 ฉบับ ได้แก่ ทักษะทางปัญญา พบว่า ค่า χ2=55.000, df=44, p=0.1237, CFI=0.996, TLI=0.994, RMSEA=0.020, SRMR = 0.032, χ2/df= 1.25, ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล พบว่า ค่า χ2= 24.611, df=18, p=0.1360, CFI=0.997, TLI=0.994, RMSEA=0.024, SRMR = 0.019 และ χ2/df = 1.36, ความรับผิดชอบ พบว่า ค่า χ2= 21.792, df=17, p=0.1929, CFI = 0.998, TLI=0.996, RMSEA = 0.021 , SRMR = 0.016 และ χ2/df= 1.28, ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า ค่า χ2= 32.233, df= 25, p= 0.1514, CFI = 0.997, TLI=0.995, RMSEA = 0.021 , SRMR = 0.017 และ χ2/df= 1.28 4. คะแนนจุดตัดที่กำหนดด้วยวิธีบุ๊คมาร์คของเครื่องมือทั้ง 4 ฉบับ แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ผ่านและไม่ผ่าน มีค่าเท่ากับ 15, 14, 14 และ 18 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิด้วยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.959, 0.961, 0.963 และ 0.948 ตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of this study were to 1) develop model of undergraduate nursing student’desirable characteristics according to Thai Qualifications Framework for Higher education: Cognitive skill, Interpersonal skill and Responsibility, Numerical Analysis Communication, Information Technology Skills. 2)develop scale and test manual of desirable characteristics for nursing students. 3) test psychometric property of the scale and test manual. 4) determine standard setting for this scale. This scale seek to improve on Computer Multimedia test. The participants were 1,106 senior undergraduate nursing by Multi-stage random sampling. The data was analyzed by Mplus and IRTPRO3 . The results were as follows: 1. Nursing student’ desirable characteristics according to Thai Qualifications Framework for Higher education in 3 dimensions that were consisted of 4 models: Cognitive skill, Interpersonal skill, Responsibility and Numerical Analysis, Communication, Information Technology Skills. 2. The scale was divided into 4 test that consisted of multiple-choice, essay, and oral presentation. The reliability for total scale were .791, 853, .880 and .863 respectively. In addition item analysis based on CTT show that discrimination (r) supported the quality of scale between 0.263-0.559. According to IRT the value of discrimination (a) between 0.77-1.79 and difficulty parameter (b) or threshold for multiple-choice was between -0.88-0.12, for the essay and oral presentation were ordering threshold (β2>β1) between 0.30-6.78 and 0.25-6.52 respectively. 3. According to Second order CFA, all of model in this scale had construct validity: 1)Cognitive skill model with χ2=55.000 (df=44, p=0.1237) CFI=0.996, TLI=0.994, RMSEA=0.020, SRMR = 0.032, 2)Interpersonal skill model with χ2= 24.611, (df=18, p=0.1360), CFI=0.997, TLI=0.994, RMSEA=0.024, SRMR = 0.019, 3)Responsibility model with χ2 = 21.792, (df= 17, p= 0.1929), CFI=0.998, TLI=0.996, RMSEA=0.021 , SRMR=0.016 ,Numerical Analysis, Communication, Information Technology Skills model with χ2= 32.233, (df= 25, p= 0.1514), CFI = 0.997, TLI=0.995, RMSEA = 0.021 , SRMR = 0.017 4. The standard Setting was determined by bookmark method. This score was divided into 2 levels that defining the passes/failures threshold was set at 15, 14, 14 and 18 respectively. The inter-rater reliability by Intra-class correlation coefficient (ICC) were 0.959, 0.961, 0.963 and 0.948 respectively
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46018
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.726
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.726
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484222627.pdf8.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.