Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52256
Title: | การผสมผสานวิถีการปฏิบัติและประเพณีทางศาสนาของพุทธศาสนิกชนในบริบทพื้นที่ชายแดนไทยและเมียนมา |
Other Titles: | Acculturation of religious practices and customs for laypeople in the context of border areas of Thailand and Myanmar |
Authors: | ภัทรสุดา สาลีวรรณ์ |
Advisors: | พินิจ ลาภธนานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Subjects: | พุทธศาสนิกชน -- ไทย พุทธศาสนิกชน -- พม่า พุทธศาสนา -- พิธีกรรม Buddhists -- Thailand Buddhists -- Burma Buddhism -- Rituals |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการทำวิจัย 2 แนวทาง คือการวิจัยเอกสารกับการวิจัยสนาม ซึ่งการวิจัยเอกสารเน้นการศึกษาประวัติศาสตร์แม่สอดจากเอกสารหอจดหมายเหตุแห่งชาติกับเอกสารท้องถิ่น ส่วนการวิจัยสนามใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลวัด พระสงฆ์ และชุมชนในพื้นที่ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เหตุผลสำคัญที่เลือกศึกษาพื้นที่แม่สอดนี้เนื่องจากเป็นชุมชนชายแดนไทยกับเมียนมาที่มีทั้งวัดไทยและวัดเมียนมาอยู่ร่วมกัน ทำให้เห็นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์ไทยและพระสงฆ์เมียนมา ตลอดจนพุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวเมียนมาในพื้นที่ได้อย่างชัดเจน อันจะนำไปสู่ความเข้าใจในประเด็นการผสมผสานวิถีปฏิบัติและประเพณีทางศาสนา ทั้งในกลุ่มประชากรหลักคือพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน ผลการวิจัยพบว่าแม่สอดเป็นเมืองพหุวัฒนธรรมที่คนไทยและคนเมียนมาอยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน โดยสามารถจำแนกลักษณะความสัมพันธ์ได้ 3 ประการ คือ (1) ศึกษาการพัฒนาและใช้ประโยชน์พื้นที่ทางศาสนาผ่านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม พบว่ามีการผสมผสานโน้มเอียงไปทางวัฒนธรรมเมียนมา เนื่องจากคณะศรัทธาที่เข้าไปบริจาคและร่วมทำบุญด้านการก่อสร้างภายในวัดส่วนมากเป็นชาวเมียนมา และช่างก่อสร้างในวัดส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมา สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมภายในวัดจึงมีความโน้มเอียงไปในแบบแผนวัฒนธรรมเมียนมา (2) วิถีการปฏิบัติและประเพณีทางศาสนาของพระสงฆ์เมียนมาผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมไทย เพราะพระสงฆ์ชาวเมียนมาต้องปฏิบัติอยู่ภายใต้กฎของคณะสงฆ์ไทย ในขณะที่พระสงฆ์ไทยก็ได้ปรับประยุกต์เข้ากับพระสงฆ์เมียนมาในบางพิธีกรรม เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและเมียนมาสามารถปฏิบัติประเพณีทางศาสนาที่เป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นร่วมกัน (3) วิถีการปฏิบัติและประเพณีทางศาสนาของพุทธศาสนิกชนไทยมีความโน้มเอียงในเชิงรับวัฒนธรรมเมียนมาไปปรับใช้มากกว่าพุทธศาสนิกชนเมียนมา เนื่องจากมีพื้นฐานความศรัทธาในพุทธศาสนาเหมือนกัน แต่การมีรากฐานวัฒนธรรมเมียนมาที่เข้มแข็งในพื้นที่แม่สอดมาอย่างยาวนาน ทำให้ชาวไทยและชาวเมียนมามีความพยายามผสมผสานวิถีปฏิบัติและประเพณีร่วมกันจนกลายเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นแม่สอด กล่าวโดยสรุปได้ว่าแม่สอดเป็นพื้นที่ที่คนไทยและคนเมียนมาสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุขท่ามกลางสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยมีพุทธศาสนาเป็นจุดเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยและคนเมียนมาให้สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยปราศจากความขัดแย้ง อันจะเป็นแบบอย่างแนวทางการผสมผสานทางศาสนาและวัฒนธรรมเพื่อสร้างเสริมประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนได้ในอนาคต |
Other Abstract: | This research was conducted by using two main methodologies: documentary research and field research. Firstly, the study aimed to find out the historical documents from the National Archives and from local key informants. Secondly, its field research applied the qualitative research by approaching participant observation and in-depth interview as its two main methods to collect data from the key informants at Tambon Thasailuad in Maesot district, Tak province. The research site was selected because it is located along the border area between Thailand and Myanmar, having Myanmar temples as well as having Thai and Myanmar monks and laypeople to live and practice Buddhism together in the area. The research found that Maesot is a multicultural society having both Thai and Myanmar cultures interacted and coexisted. It can clarify their religious acculturation as 3 patterns. Firstly, the development and utilization of religious spaces and architecture are tentatively in the approach of acculturation through Myanmar Buddhist culture. This is mainly because in Maesot there are more religious Myanmar laypeople than Thai ones. The Myanmar laypeople are also the larger group of donators who construct all religious things in Thai and Myanmar monasteries. Secondly, religious practices of Myanmar monks have to follow the Thai Sangha act. It is therefore quite obvious that the Myanmar monks in Maesot have tried to acculturate their religious practices and rituals into the Thai customs. However, the Thai monks have also adapted Myanmar practices and attended some Myanmar Buddhist ceremonies. Thirdly, the religious practices and customs of Thai laypeople are more tentatively acculturated into the Myanmar culture than those of Myanmar laypeople. This is certainly because although both Thai and Myanmar laypeople have similarly strong faith and beliefs in Buddhism, there are more Myanmar laypeople than the Thai ones in Thasailuad. It means that the lay Buddhist practices tend to follow the Myanmar culture. But, both Thai and Myanmar lay Buddhist practices and customs can be acculturated to each other, and can make them as the local Maesot Buddhist identity The research reveals how Maesot is the multicultural society where both Thai and Myanmar monks and laypeople can live together peacefully. They have good relationship based on their related Theravadin Buddhist beliefs and practices. This pattern of religious acculturation is as important as an elementary model for strengthening the ASEAN Socio-Cultural Community in the near future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พัฒนามนุษย์และสังคม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52256 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.688 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.688 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5687208620.pdf | 4.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.