Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53047
Title: การพัฒนากระบวนการเสริมสมรรถภาพการชี้แนะของนักวิชาการพี่เลี้ยงโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ในการอบรมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
Other Titles: Development of academic mentors' coaching competency enhancement process using experiential learning in school-based training
Authors: เฉลิมชัย พันธ์เลิศ
Advisors: ทิศนา แขมมณี
บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: โรงเรียน -- การพัฒนาบุคลากร
ครู -- การสอนงาน
ครู -- การฝึกอบรม
การเรียนรู้แบบประสบการณ์
การสอนแนะส่วนบุคคล
Teachers -- Coaching of
Teachers -- Training
Experiential learning
Personal coaching
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเสริมสมรรถภาพการชี้แนะของนักวิชาการพี่เลี้ยงโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ในการอบรมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นการวิจัยและพัฒนาที่ใช้พหุวิธีประกอบด้วย การศึกษาเอกสาร การศึกษาภาคสนาม และการศึกษารายกรณี การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ (1) ระยะเตรียมการ (2) ระยะพัฒนากระบวนการฯ (3) ระยะการใช้กระบวนการฯ และ (4) ระยะการปรับปรุงกระบวนการฯ ผู้วิจัยนำกระบวนการไปดำเนินการพัฒนาสมรรถภาพการชี้แนะของกรณีศึกษา 3 คน ขณะดำเนินการชี้แนะในโรงเรียน 12 โรง แก่ครู 32 คน รวม 40 ครั้ง และประเมินผลเป็นระยะ รวม 3 ระยะ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการให้สมบูรณ์ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. กระบวนการที่พัฒนาขึ้น ยึดหลักการอบรมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ ประกอบด้วย (1) ขั้นเตรียมการ ได้แก่ การประสานงานกับบุคลากร/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องการวางเป้าหมายและแผนงาน (2) ขั้นดำเนินการชี้แนะ และสะท้อนผลการชี้แนะเป็นขั้นพัฒนาสมรรถภาพการชี้แนะที่ช่วยให้นักวิชาการพี่เลี้ยงเรียนรู้ตามการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ โดยเริ่มจากการรับประสบการณ์รูปธรรม ได้แก่ การเข้าไปดำเนินการชี้แนะในโรงเรียน โดยใช้ยุทธวิธีและเทคนิคการชี้แนะตามวงจรการชี้แนะ การนำประสบการณ์มาสะท้อนผลการชี้แนะเพื่อสร้างความคิดรวบยอด และการนำความคิดรวบยอดไปใช้ และ (3) ขั้นสรุปผลและทบทวนการทำงาน ในการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว นักวิชาการพี่เลี้ยงจะเกิดการเรียนรู้ปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของครู และพัฒนาสมรรถภาพการชี้แนะไปพร้อมกับปฏิบัติงานในโรงเรียน กระบวนการให้รายละเอียดต่างๆ รวมทั้งให้คู่มือผู้พัฒนานักวิชาการพี่เลี้ยง คู่มือสำหรับนักวิชาการพี่เลี้ยง และแบบประเมินสมรรถภาพการชี้แนะของนักวิชาการพี่เลี้ยง 2. ผลการนำกระบวนการไปใช้ พบว่า (1) นักวิชาการพี่เลี้ยงที่เป็นกรณีศึกษา จำนวน 3 คน สามารถพัฒนาสมรรถภาพการชี้แนะในด้านทักษะการชี้แนะและด้านการประยุกต์ใช้ความรู้ในการชี้แนะ ตามตัวบ่งชี้รวม 13 ประการ ได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 ระดับ ใน 11 ตัวบ่งชี้ คิดเป็นร้อยละ 85 ของตัวบ่งชี้ทั้งหมด (2) ด้านเจตคติต่อกระบวนการพัฒนาครูด้วยการชี้แนะ นักวิชาการพี่เลี้ยงให้ความเห็นว่า กระบวนการฯ ช่วยให้ตนเรียนรู้อย่างมีความหมายในสถานการณ์จริง สามารถทำงานอย่างเป็นระบบเกิดความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคลของครูและเรียนรู้การทำงานที่ตอบสนองความต้องการรายบุคคล รวมทั้งเห็นคุณค่าของการเรียนรู้ร่วมกันกับครู
Other Abstract: The main objectives of this research were to develop the process for enhancing academic mentors' coaching competency by using experiential learning in school-based training. This research and development used multi-methods such as documentary study, field study, and case study. The research procedures included 4 phases: (1) preparation phase, (2) development phase, (3) implementation phase and (4) improvement phase. The process developed was used to help three case mentors in conducting 40 coaching sessions for 32 teachers in 12 schools. Evaluation of coaching competency was conducted in 3 stages. Data from the case study were used to revise the process. The research results were as follows: 1) The research process was developed based on the concepts of school-based training and experiential learning. The mentors learned while performing their coaching duty in schools by following 3 main steps: preparation, coaching and reflection, and conclusion. In going through the required steps, the mentors had opportunity to learn through experiential learning cycle which involved the discussion and analysis of concrete experience, reflective observation, conceptualization and active experimentation. The mentors learned to indentify needs and problems of individual teachers and to select strategy and techniques suitable for each case. The developed process gave details covering its objectives, principles, steps and strategies used in coaching and evaluation. A hand-book for mentors was also developed to help mentors work more effectively. 2) In implementing the developed process, it was found that (1) the three case mentors were able to increase their coaching competency in 11 out of 13 coaching competency indicators (85%) at least one level up from the first stage of training. (2) The mentors developed positive attitude toward the coaching process. They stated that the task has helped them gain meaningful learning, work more systematically, learn how to recognize the individual teacher's needs and problems, and realize the value of working and learning along with teachers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53047
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1446
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1446
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chalermchai_ph_front.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
chalermchai_ph_ch1.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
chalermchai_ph_ch2.pdf4.86 MBAdobe PDFView/Open
chalermchai_ph_ch3.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open
chalermchai_ph_ch4.pdf5.27 MBAdobe PDFView/Open
chalermchai_ph_ch5.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
chalermchai_ph_ch6.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
chalermchai_ph_ch7.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open
chalermchai_ph_back.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.