Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53098
Title: การนำเสนอรูปแบบการฝึกที่ผสมผสานความอดทน ความแข็งแรงและความเร็วเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาฟุตบอล
Other Titles: A proposed training model combining endurance, strength, and speed to develop football players' physical fitness
Authors: นาทรพี ผลใหญ่
Advisors: ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์
เจริญ กระบวนรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: นักกีฬาฟุตบอล
นักกีฬา
ฟุตบอล -- การฝึก
สมรรถภาพทางกาย
Athletes
Football -- Training
Physical fitness
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการฝึกที่ผสมผสานความอดทน ความแข็งแรงและความเร็วเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาฟุตบอล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักกีฬาฟุตบอลโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โดยเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 15 คน การวิจัยนี้มีการฝึก 2 ระยะ คือ ระยะที่1 กลุ่มทดลองที่ 1 ใช้รูปแบบการฝึกที่ผสมผสานโปรแกรมการฝึกแบบหมุนเวียน และโปรแกรมการฝึกแบบแอโรบิก และกลุ่มทดลองที่ 2 ใช้รูปแบบการฝึกที่ผสมผสานโปรแกรมการฝึกแบบแอโรบิก และโปรแกรมการฝึกแบบหมุนเวียน และระยะที่ 2 กลุ่มทดลองที่ 1 ใช้รูปแบบการฝึกที่ผสมผสานโปรแกรมการฝึกด้วยน้ำหนัก และโปรแกรมการฝึกแบบแอโรบิก กลุ่มทดลองที่ 2 ใช้รูปแบบการฝึกที่ผสมผสานโปรแกรมการฝึกเชิงซ้อน และโปรแกรมการฝึกแบบแอโรบิก ฝึก 2 วัน/สัปดาห์ ระยะเวลา 12 สัปดาห์ ระยะที่ 1 ทดสอบความอดทนแบบแอโรบิกความแข็งแรงสูงสุดของกล้ามเนื้อ ประกอบด้วย กล้ามเนื้อขา และกล้ามเนื้อหัวไหล่ ก่อน และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 และระยะที่ 2 ทดสอบพลังอดทนของกล้ามเนื้อขา พลังระเบิดของกล้ามเนื้อขา ความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไว ความอดทนแบบแอโรบิก และความแข็งแรงสูงสุดของกล้ามเนื้อ ประกอบด้วย กล้ามเนื้อขา และกล้ามเนื้อหัวไหล่ หลังการทดลองสัปดาห์ที่6 และ 12 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม (Independent t-test) และภายในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง (Paired t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One-Way Analysis of Variance with Repeated Measures) และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 และ 12 พบว่า 1. หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 กลุ่มทดลองที่ 1 มีความอดทนแบบแอโรบิกมากกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 มีความแข็งแรงสูงสุดของกล้ามเนื้อขามากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 12 พบว่า 1. กลุ่มทดลองที่ 2 มีพลังอดทนของกล้ามเนื้อขา พลังระเบิดของกล้ามเนื้อขา และความเร็วมากกว่ากลุ่มทดลองที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. กลุ่มทดลองที่ 1 มีพลังระเบิดของกล้ามเนื้อขา ความเร็ว และความคล่องแคล่วว่องไว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ประกอบด้วย กล้ามเนื้อขา และกล้ามเนื้อหัวไหล่ มากกว่าหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มทดลองที่ 2 มีพลังอดทนของกล้ามเนื้อขา พลังระเบิดของกล้ามเนื้อขา ความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา มากกว่าหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to proposed training model combining endurance, strength and speed to develop football players’ physical fitness. The subjects were 30 football players from Bangkok Christian College by purposive random sampling. The subjects were assigned into two groups; each group consisted of 15 athletes. This research had 2 periods of the experiment: period 1 on the experimental group 1 used the combined training for circuit weight training and aerobic training, the experimental group 2 used the combined training for aerobic training and circuit weight training. In period 2 on the experimental group 1 used the combined training for weight training and aerobic training, the experimental group 2 used the combined training for complex training and aerobic training for 2 days per week in 12 weeks: on period 1 aerobic endurance and leg of muscular maximum strength were collected: leg muscular and shoulder muscular pre-test and post-test on the 6 week. Period 2 leg muscular power endurance, leg explosive power, speed, agility, aerobic endurance and muscular maximum strength: leg muscular and shoulder muscular post-test on the 6, 12 week. The datas were analyzed in term of means standard deviations, independent t- test, paired t-test, one-way analysis of variance with repeated measures and multiple comparisons by the Tukey (a) were also employed for the statistical significant. After the 6 week, the results were: 1. After the 6 week, the experimental group 1 had aerobic endurance better than the experimental group 2 by significantly at .05 level. 2. The experimental group 1 and 2 had leg of muscular strength better than pre-test by significantly better than before training at the .05 level. After the 12 week, the results were: 1. The experimental group 2 had led muscular power endurance, leg explosive power and speed better than the experimental group 1 by significantly at .05 level. 2. The experimental group 1 had leg explosive power, speed, agility and muscular strength: leg muscular and shoulder muscular better than post-test at the 6 week by significantly at .05 level and the experimental group 2 had leg endurance power, leg explosive power, speed, agility and leg muscular strength better than post-test at the 6 week by significantly at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53098
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.831
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.831
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
natrapee_po_front.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
natrapee_po_ch1.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
natrapee_po_ch2.pdf19.77 MBAdobe PDFView/Open
natrapee_po_ch3.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
natrapee_po_ch4.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open
natrapee_po_ch5.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open
natrapee_po_back.pdf5.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.