Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58161
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชิตพงษ์ ตรีมาศ-
dc.contributor.authorณรงค์ศักดิ์ บุญพงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-04-11T01:32:18Z-
dc.date.available2018-04-11T01:32:18Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58161-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องการการเรียนการสอนการผลิตกีตาร์โปร่ง กรณีศึกษา ครูวิรุฬห์ ทรงบรรดิษฐ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนการผลิตกีตาร์โปร่งของครูวิรุฬห์ ทรงบรรดิษฐ์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนการสอนการผลิตกีตาร์โปร่งของครูวิรุฬห์ ทรงบรรดิษฐ์ วิธีการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการตีความ สร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และนำเสนอผลการวิจัยเป็นความเรียง แผนภาพ และตารางแสดงผลการวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ทำให้ครูวิรุฬห์ ทรงบรรดิษฐ์หันมาศึกษาวิธีการผลิตกีตาร์โปร่ง คือ การที่ครูนับถือศาสนาคริสต์ ทำให้มีโอกาสใกล้ชิดกับดนตรีพิธีกรรมตั้งแต่เด็ก ลูกชายของท่านอยากเรียนกีตาร์แต่ไม่สามารถหาเครื่องดนตรีที่มีขนาดเหมาะสมกับเด็กเพื่อใช้เรียนได้ การที่ครูมีความชอบส่วนตัวในเรื่องของการทำงานไม้ และแนวคิดในการนำการผลิตกีตาร์มาประกอบเป็นอาชีพ ภูมิหลังด้านการเรียนการผลิตกีตาร์โปร่งของครู พบว่า ครูเริ่มจากทดลองผลิตด้วยตนเอง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จากนั้นจึงเริ่มศึกษาด้วยตนเองจากตำรา Guitarmaking ต่อมาจึงได้มีโอกาสศึกษาจาก ช่างรักษ์ ชิงสกล ช่างYuichi Imai ช่างKarl Heinz Roemmich และช่าง José Luis Romanillos ด้านเนื้อหาสาระประอบด้วยเนื้อหาที่ใช้เตรียมความพร้อมของผู้เรียน ได้แก่ ทักษะงานไม้ขั้นพื้นฐาน การเลือกชนิดไม้ และโครงสร้างของกีตาร์ เนื้อหาหลัก ได้แก่ การผลิตคอกีตาร์ การผลิตไม้หน้า การผลิตไม้ข้างและไม้หลัง การประกอบกีตาร์ การทำสี และการปรับแต่ง ในส่วนของสาระที่ใช้การวัดประเมินผลงานของผู้เรียน ประกอบด้วย คุณภาพเสียง ความประณีตสวยงาม และความแข็งแรงคงทน การเรียนการสอนจัดเป็นการเรียนการสอนแบบนอกระบบการศึกษา มีขั้นตอนในการจัดการเรียนการสอนแบ่งออกเป็น 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ขั้นการเรียนการสอนการผลิตกีตาร์โปร่ง และขั้นการวัดประเมินผลงานของผู้เรียน จุดมุ่งหวังที่ผู้เรียนได้รับหลังจากเรียนการผลิตกีตาร์โปร่ง คือ 1.ผู้เรียนสามารถผลิตกีตาร์โปร่งได้ด้วยตนเอง 2.ผู้เรียนสามารถผลิตกีตาร์โปร่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนเครื่องดนตรีที่ผลิตตามโรงงาน โดยเฉพาะเน้นในเรื่องของคุณภาพเสียง 3.ผู้เรียนรู้จักวิธีคัดเลือกวัตถุดิบที่ดีและเหมาะสมในการผลิตกีตาร์โปร่ง และ4.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประกอบเป็นอาชีพ ในส่วนของความพึงพอใจของผู้เรียนนั้น ผู้วิจัยพบว่า ด้านการเรียนการสอนผู้เรียนมีความพึงพอใจในเรื่องของสถานที่ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ในระดับมากที่สุด (=4.57 SD=0.49) ด้านเนื้อหาหลักสูตร พบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจในเรื่องหลักสูตรมีการยืดหยุ่นตามความสามารถและความต้องการเฉพาะทางของ (=4.57 SD=0.53) ด้านสื่อการเรียนการสอนพบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจ ด้านการจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการผลิตกีตาร์โปร่งได้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนที่สุด (=4.43 SD=0.53) ด้านการวัดประเมินผล ผลที่เกิดขึ้นสามารถนำไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนได้ (=3.57 SD=1.13)-
dc.description.abstractalternativeThe research entitled the instruction of acoustic guitar making in Mr.Wiroon Songbundit’s case aims to study Mr.Wiroon Songbundit’s instruction of acoustic guitar making and to study the students’ satisfaction towards Mr.Wiroon Songbundit’s instruction of acoustic guitar making. This is a qualitative research. The research tools are document analysis form, observation form, interview form, and questionnaire. The researcher analyzes the data by interpretation and inductive inference. The research presentation is in the form of composition, diagram, and the table of analytic results. The result found that the factors which make Mr.Wiroon Songbundit choose to study acoustic guitar making is because he is a Christian. Being Christian gives him an opportunity to get used to Christian worship music since he was a child. His son wanted to study how to play guitar but he could not find the guitar which was appropriate for children to study. With his own preference in wooden work and taking his concept in guitar making to be the profession background in instruction of acoustic guitar making, he started to make the guitar by himself but it was not succeeded. After that, he started to study by himself with Guitarmaking. Then, he got an opportunity to learn from Rak ChingSakol, Yuichi Imai, Karl Heinz Roemmich, and José Luis Romanillos. The content provided to be an elementary lesson for the students are basic skill for wooden work, type of wood selection, and the structure of the guitar. The main content are neck of the guitar making, top making, side making, and back making, part combination, coloring and Set Up. For the content used to evaluate the students’ outcome, they are sound quality, elaboration, and strength. The instruction is Non-formal Education. There are 3 steps for the instruction. They are students’ readiness, acoustic guitar making instruction and students’ outcome evaluation. The purposes after studying acoustic guitar making are that 1.the students make acoustic guitar by themselves 2. The students can make acoustic guitar in their own styles – unlike other music instruments made by manufacturing focusing in sound quality. 3. The students know how to select good and appropriate materials in acoustic guitar making and 4. The students can apply the knowledge to their real lives.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.347-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการจัดการเรียนการสอนการผลิตกีตารโปร่ง: กรณีศึกษาครูวิรุฬห์ ทรงบรรดิษฐ์-
dc.title.alternativeACOUSTIC GUITAR MAKING INSTRUCTION: A CASE STUDY OF KRU WIROON SONGBUNDIT-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineดนตรีศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisor[email protected],[email protected]-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.347-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683329127.pdf4.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.