Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59877
Title: Education Management Reform Strategies for Enhancing the Quality Citizenship in Cambodia
Other Titles: ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการบริหารการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองคุณภาพในกัมพูชา
Authors: ChuonNaron Hang
Advisors: Pruet Siribanpitak
Chayapim Usaho
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Education
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Subjects: Educational change -- Cambodia
การบริหารการศึกษา
การปฏิรูปการศึกษา -- กัมพูชา
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2017
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This research study aimed to 1) study the conceptual framework of education management reform and the quality citizenship; 2) study the current and desirable state of education management reform for enhancing the quality citizenship in Cambodia; 3) find out the needs in education management reform for enhancing the quality citizenship in Cambodia; 4) develop education management reform strategies for enhancing the quality citizenship in Cambodia. This study employed the research and development method (R&D). The data were collected from 710 respondents, consisting of 10 education policymakers, 30 Directors of MoEYS departments, 80 school administrators, 150 teachers, 80 School Support Committee members, 300 students and 60 other stakeholders. Following the preliminary data analysis, 51 experts and stakeholders were invited to individually validate the first draft of education management reform strategies. Another 14 Cambodian experts and stakeholders were invited to focus group discussion to validate the second draft of education management reform strategies. The collected data were analyzed using descriptive statistics, and the formula of PNI modified was also used to find out the priority need of education management reform. The findings revealed that 1) The first priority need in education management reform for enhancing quality citizenship in Cambodia was education financial management reform, while administrative and general management reform was the second priority , academic management reform for quality citizenship was the third priority, and personnel management reform was the forth priority. 2) The education management reform strategies for enhancing quality citizenship in Cambodia consist of 4 main strategies and 12 sub-strategies, which are prioritized by the PNI modified as follows: (1) Education financial management reform for quality citizenship consists of the following three sub-strategies: (1.1) Increase financial autonomy and accountability of schools for quality citizenship; (1.2) Conduct education budget audit for quality citizenship; and (1.3) Linking budget to education policies for quality citizenship; (2) Administrative and general management reform for quality citizenship consists of the following three sub-strategies: (2.1) Ensure community involvement in school management for quality citizenship 2.2) Implement school-based management for quality citizenship and (2.3) Education policy and education strategic plan for quality citizenship; (3) Academic management reform for quality citizenship consists of the following three sub-strategies: (3.1) Conduct regular assessment of students for quality citizenship; (3.2) Improve teaching methods for quality citizenship; and (3.3) Integrate good citizenship into school curriculum and textbooks for quality citizenship; and (4) Personnel management reform for quality citizenship consists of the following three sub-strategies: (4.1) Provide INSET training, focusing on teaching methods and mentoring program for quality citizenship; (4.2) Increase teacher PRESET qualifications for quality citizenship; and (4.3) Implement teacher performance assessment for quality citizenship.
Other Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการปฏิรูปการบริหารการศึกษา และความเป็นพลเมืองคุณภาพ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิรูปการบริหารการศึกษาเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพในกัมพูชา 3) ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการปฏิรูปการบริหารการศึกษาเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพในกัมพูชา และ 4) พัฒนายุทธศาสตร์การปฏิรูปการบริหารการศึกษาเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพในกัมพูชา ซึ่งใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา (R & D) การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิรูปการบริหารศึกษา มีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 710 คน ได้แก่ ผู้กำหนดนโยบายการศึกษา จำนวน 10 คน ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาจำนวน 30 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 80 คน ครู จำนวน 150 คน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 80 คน นักเรียนจำนวน 300 คน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 60 คน ประเมินร่างยุทธศาสตร์การปฏิรูปการบริหารการศึกษาเป็นรายบุคคลโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 51 คน และประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 14 คน ในการประชุมสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสูตรคำนวณค่าความต้องการจำเป็น (PNI modified) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบการประเมินยุทธศาสตร์ และแบบการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการปฏิรูปการบริหารการศึกษาเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ อันดับที่ 1 คือการปฏิรูปการบริหารการเงินการศึกษาเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ อันดับที่ 2 คือการปฏิรูปการบริหารงานทั่วไปเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ อันดับที่ 3 คือการปฏิรูปการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ (PNI modified = 0.360) และอันดับที่ 4 คือการปฏิรูปการบริหารบุคคลเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ 2) ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการบริหารการศึกษาเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพในกัมพูชา ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก และ 12 ยุทธศาสตร์รอง ซึ่งได้จัดลำดับตามอันดับความต้องการจำเป็น ได้แก่ (1) ปฏิรูปการบริหารการเงินการศึกษาเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์รอง คือ (1.1) เพิ่มความเป็นอิสระ และความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ในด้านการบริหารการเงินของโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ (1.2) ดำเนินงานระบบตรวจสอบงบประมาณด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ และ (1.3) เชื่อมต่อระหว่างงบประมาณกับนโยบายการศึกษาเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ (2) ปฏิรูปการบริหารงานทั่วไปเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์รอง คือ (2.1) รับประกันให้ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียน (2.2) นำรูปแบบการบริหารโรงเรียนเป็นฐานไปปฏิบัติใช้เพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ (2.3) กำหนดนโยบาย และแผนยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ (3) ปฏิรูปการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์รอง คือ (3.1) ดำเนินงานการประเมินผลการเรียนของนักเรียนเป็นประจำเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ (3.2) ส่งเสริมวิธีการสอนเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ (3.3) บูรณาการความเป็นพลเมืองที่ดีในหลักสูตร และคู่มือการเรียน เพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ และ (4) การปฏิรูปการบริหารบุคคลเพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์รอง คือ (4.1) พัฒนาครูประจำการ โดยเน้นที่วิธีการสอน และระบบการติดตามดูแลครู เพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ (4.2) พัฒนาการผลิตครู เพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ (4.3) นำระบบการประเมินผลงานของครูไปใช้เพื่อเสริมสร้างพลเมืองคุณภาพ
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2017
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Educational Administration
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59877
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.191
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.191
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5984246127.pdf14.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.