Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63808
Title: | ความยุติธรรมกับการขับเคลื่อนความขัดแย้ง : ศึกษากรณีเหตุการณ์ความรุนแรงหน้า สภ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาส |
Other Titles: | Justice and conflict transformation : the case study of Takbai incidence, Narathiwat province |
Authors: | ประทับจิต นีละไพจิตร |
Advisors: | ฉันทนา บรรพศิริโชติ หวันแก้ว |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ความขัดแย้งทางการเมือง -- ไทย -- ตากใบ (นราธิวาส) ความยุติธรรมกับการเมือง -- ไทย กระบวนการยุติธรรม -- ไทย กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ -- ไทย Justice and politics -- Thailand Justice and politics -- Thailand Restorative justice -- Thailand |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมและการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งและเงื่อนไขที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมและการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งในทางทฤษฎีและเชิงประจักษ์ ผ่านเหตุการณ์ความรุนแรงคือ เหตุการณ์ตากใบ ที่มีลักษณะเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงที่มีผลในเชิงแปลงเปลี่ยน (Transformative events) เป็นกรณีที่มีการถกเถียงเรื่องความยุติธรรมและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยรวมอย่างชัดเจน จึงสามารถชี้ให้เห็นรูปธรรมของความคิดและปฏิบัติการของความยุติธรรมและการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งได้ท่ามกลางความรุนแรงที่ยังดำเนินอยู่ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้เสีย ผลการศึกษาพบว่า ความยุติธรรมที่มีผลในเชิงแปลงเปลี่ยนประกอบด้วย ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ความยุติธรรมเชิงกฎหมายและความยุติธรรมเชิงโครงสร้างซึ่งมีความสัมพันธ์กันภายใต้เงื่อนไขด้านเวลาและบริบทของความขัดแย้ง ในกรณีเหตุการณ์ตากใบ ผู้เกี่ยวข้องยอมรับว่าความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์จะช่วยลดความขัดแย้งและรุนแรงที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้เกี่ยวข้องมีมุมมองต่อความยุติธรรม รวมทั้งมาตรการที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเหยื่อและภาคประชาสังคมคาดหวังว่าความยุติธรรมเชิงกฎหมายและความยุติธรรมเชิงโครงสร้าง มีความสำคัญต่อการลดความรุนแรงในกรณีเหตุการณ์ตากใบและความขัดแย้งที่ยืดเยื้อในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยรวม ดังนั้น กระบวนการฟื้นคืนความยุติธรรมจึงกลายเป็นกระบวนการต่อรองระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ก็คือความก้าวหน้าของการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งดูจะเกิดขึ้นเพียงบางส่วน บริบทเงื่อนไขสำคัญทางสังคมการเมืองที่กำหนดความยุติธรรมและการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งกรณีตากใบประกอบด้วย ความต่อเนื่องของความขัดแย้งรุนแรงและข้อจำกัดเชิงสถาบันการเมืองที่ผูกโยงกับความมั่นคงของรัฐและความไม่ไว้วางใจระหว่างรัฐกับประชาชน อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ตากใบก็ส่งผลไปสู่การแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง ทั้งจากการปรับเปลี่ยนระดับนโยบายแก้ปัญหา การยอมรับอัตลักษณ์ในพื้นที่ รวมทั้งการเร่งสร้างความไว้วางใจในกระบวนการยุติธรรม |
Other Abstract: | This dissertation examines relationship between justice and conflict transformation and the conditions contributing to such relationship in both theory and practices. This study uses Takbai incident where a major violence take place in southernmost province of Thailand as a transformative event leading nationwide debates over justice and human rights violation. The event demonstrates the ideas and practices of justice and conflict transformation while violence is still prevailing. Qualitative research methods are used including documentary research and in-depth interview of concerned stakeholders in the incident. The findings show that transformative justices which compose of restorative, legal and structural justice are mutually connected through time and context of protracted conflict. In the case of Takbai incident, the stakeholders admit that restorative justice help reduce violence. However, the data also provides evidences that each party conceive the term ‘justice’ and related solutions in different ways. Victims of violence and civil society organizations expect legal and structural justice to end the cycle of violence in the Southernmost Province. Therefore, the process of restoring justice is subject to negotiation among parties involved. As a result, the progress of conflict transformation seems uneven. The study finds that social and political conditions which influence justice and conflict transformation as led by Takbai incident comprised of the continuing violence conflict, the influence of state securitization and distrust between state and local people. Nevertheless, Takbai incident was a trigger for some indications of conflict transformations, including a change in policy measures, a recognition of local identity, and a need for trust building in judiciary systems. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | รัฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63808 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pratubjit Neelapaijit.pdf | 2.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.