Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8812
Title: | การวิจัยและการพัฒนาวิธีวินิจฉัย ควบคุมและป้องกันโรคอหิวาต์สุกรในประเทศไทย : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | Research and development for diagnosis, prevention and control of classical swine fever in Thailand |
Authors: | ปราจีน วีรกุล อัจฉริยา ไศละสูต คณิศักดิ์ อรวีระกุล วาสนา ภิญโญชนม์ สุดารัตน์ ดำรงค์วัฒนโภคิน สันนิภา สุรทัตต์ |
Email: | [email protected] [email protected] [email protected] ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ กรมปศุสัตว์. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
Abstract: | ชุดโครงการวิจัยนี้ แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 โครงการย่อย ซึ่งประกอบด้วย โครงการที่ 1 การศึกษาเปรียบเทียบระดับแอนติบอดีในแม่สุกรที่ได้รับการฉีดวัคซีนโปรแกรม 3 ชนิด และผลกระทบของภูมิคุ้มกันถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกในการสร้างภูมิคุ้มกันในลูกสุกรเมื่อได้รับการฉีดวัคซีน โครงการที่ 2 การพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคอหิวาต์สุกรและการพัฒนาการตรวจวัดภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์ต่อเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกร โครงการที่ 3 การศึกษาพัฒนาวิธีผลิตวัคซีนอหิวาต์สุกรชนิดเซลล์เพาะเลี้ยง และโครงการที่ 4 การศึกษาระดับภูมิคุ้มกันถ่ายทอดที่สามารถป้องกันการเกิดอหิวาต์สุกรเมื่อได้รับการฉีดเชื้อพิษอหิวาต์สุกร Chiangmai/98 โครงการที่ 1 การศึกษาสถานภาพของระดับแอนติบอดีในแม่สุกรที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์สุกร 3 โปรแกรมพบว่า ระดับแอนติบอดีในแม่สุกรที่ 1 สัปดาห์หลังคลอดในโปรแกรมที่ได้รับการฉีดวัคซีน 3 สัปดาห์ก่อนคลอดหรือโปรแกรมฉีดพร้อมกันทุกตัวในฟาร์มปีละ 3 ครั้ง ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนแม่สุกรที่ฉีดวัคซีนโปรแกรม 3 สัปดาห์หลังคลอดมีค่าใช้จ่ายของระดับแอนติบอดีต่ำกว่าทั้ง 2 โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันถ่ายทอดสู่ลูกสุกรที่เกิดจากแม่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนทั้ง 3 โปรแกรมเมื่อลูกสุกรอายุ 1 และ 3 สัปดาห์ มีระดับแอนติบอดีที่สอดคล้องกับแอนติบอดีในแม่ การศึกษาผลกระทบของระดับภูมิคุ้มกันถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกที่อาจมีผลรบกวนการสร้างภูมิคุ้มกันในลูกสุกรเมื่อฉีดวัคซีน ผลการศึกษาการประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมการฉีดวัคซีนในลูกสุกรครั้งเดียวที่อายุ 3 สัปดาห์หรือ 2 ครั้งที่อายุ 3 และ 5 สัปดาห์ พบว่า วัคซีนให้ความคุ้มโรคได้ แม้ลูกสุกรมีภูมิคุ้มกันถ่ายทอดจากแม่ในระดับที่แตกต่างกัน ณ วันฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตามพบว่าภูมิคุ้มกันถ่ายทอดในระดับสูงจะรบกวนการสร้างภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์ในลูกสุกรเมื่อฉีดวัคซีน โครงการที่ 2 การตรวจวินิจฉัยโรคอหิวาต์สุกรโดยวิธี reverse transcriptase polymerase chain reaction (RT-PCR) พบว่าเมื่อใช้ primer 324 และ 326 เป็นวิธีที่มีความไวและความจำเพาะสูง สามารถตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรที่แยกได้ในประเทศทุก genogroups และให้ผลสอดคล้องกับวิธีการแยกและพิสูจน์เชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยง จึงเหมาะสำหรับนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคอหิวาต์สุกรในประเทศ (โครงการที่ 2.1) สำหรับวิธี RT-PCR เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสอหิวาต์สุกรในส่วนของ gp 55 ร่วมกับการใช้เอ็นไซม์จำเพาะ เพื่อแยกไวรัสจากวัคซีนที่แยกได้จากท้องที่ พบว่ามีข้อจำกัดในเรื่องความไว และความจำเพาะ จึงอาจไม่เหมาะสำหรับนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคและแยกแยะชนิดของเชื้อในประเทศ การพัฒนาวิธีการตรวจวัดภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์โดยการตรวจหาปริมาณเซลล์ที่สร้างแอนติบอดี (antibody secreting cells) และเซลล์ที่สร้างอินเตอเฟอรอนแกมม่า (IFN[gamma]) ที่จำเพาะต่อเชื้ออหิวาต์สุกรเพื่อใช้เป็นตัวบ่งชี้ระดับ antiviral immunity และใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนอหิวาต์สุกร ผลการวิจัยสามารถพัฒนาเทคนิค ELISPOT เพื่อตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์ต่อเชื้ออหิวาต์สุกรได้เป็นผลสำเร็จ (โครงการที่ 2.2) โครงการที่ 3 พัฒนาวิธีผลิตวัคซีนอหิวาต์สุกรเชื้อเป็นเซลล์เพาะเลี้ยงโดยใช้เชื้อไวรัสวัคซีนสเตรน GPE เพาะเลี้ยงในเซลล์ FS-L[subscript 3] พบว่าสามารถนำมาใช้ผลิตเป็นวัคซีนชนิดดูดแห้งที่ได้มาตรฐานทางห้องปฏิบัติการเป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัยสูงและให้ความคุ้มครองได้อย่างสมบูรณ์ในสุกรเมื่อฉีดพิษทับวัคซีนที่ผลิตได้มีความเหมาะสมที่จะนำไปผลิตในเชิงอุตสาหกรรมต่อไป โครงการที่ 4 การทดสอบภูมิคุ้มกันถ่ายทอดจากแม่และการฉีดวัคซีนในลูกสุกรต่อไวรัสอหิวาต์สุกร Chiangmai/98 ซึ่งเป็นเชื้อใน genogroup 2.2 พบว่าภูมิคุ้มกันถ่ายทอดมีผลน้อยมากต่อการให้ความคุ้มครองโรคต่อการฉีดพิษทับด้วยเชื้อ genogroup 2.2 นอกจากนั้นภูมิคุ้มกันถ่ายทอดมีผลรบกวนการสร้างภูมิคุ้มกันทั้งชนิดเซลล์และแอนติบอดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ต่อการฉีดวัคซีน |
Other Abstract: | This research program was divided into 4 projects. Project 1 was aimed at comparing the passive colostral immunity in piglets and their dams in Swine Fever free herds which were using 3 different vacation programs. The second project was programmed to develop a new diagnostic technique to identify different Classical Swine Fever viruses (CSFV) and use this technique to evaluate post vaccination cellular immunity in piglets. The third project was to develop a new tissue culture CSF vaccine and the fourth project was conducted in passively immune piglets to evaluate the effect of passive colostral antibody on protection against a new virulent Chiangmai/98 field isolate. Project 1: The geometric mean CSF antibody titer (GMT) of sows vaccinated 3 weeks before farrowing was similar to those on a trice-yearly blanket vaccination program. Sows which had received CSF vaccine 3 weeks after farrowing had significantly lower CSF antibodies than those sows in the 2 previous vaccination programs (p<0.05). Passive colostral antibody in piglets in 1 and 3 weeks of age corresponed with the sow’s antibody levels. Vaccination of passively immune piglets either once at 3 weeks of age or twice at 3 and 5 weeks of age with lapinized Chinese strain was equally effective in protecting the piglets from challenge with the virulent Bangkok 1950 CSFV strain , 2 weeks after vacation. High level of passive colostral antibody interfered with active cellular immunity in piglets in the day of vaccination. Project 2: Diagnosis of CSFV using reverse transcriptase polymerase chain reaction (RT-PCR) with primer 324 and 346 provided a sensitive and rapid diagnostic tool for all genogroups of CSFV isolates (project 2.1). Results of CSFV diagnosis using RT-PCR corresponded to the virus isolation technique using cell culture and may appropriate to be used for CSF diagnosis. Differentiation of CSFV strains using RT-PCR to amplify the CSFV genome (gp 55 region) with the restriction endonucleases yielded various patterns among CSFV isolates. This technique may not be practical to use for CSF diagnosis. Project 2.2 was developed for detecting specific CSF secreting cells and interferon gramma (IFN-[gramma]) producing cells using ELISPOT assay was successful in detecting specific cellular immunity against CSFV. Project 3: A new CSFV vaccine was developed using the GPE-strain and the FS-L3 cell line. Freeze dried vaccines were tested for safety and efficacy according to vaccine standardization protocols. Complete protection of vaccinated piglets was observed against the virus challenge. This new vaccine is suitable for large-scale production. Project 4: Passive colostral antibody gave low protection in piglets challenged with the Chinagmai/98 virus. Significant interference of passive colostral antibody on active cellular and humoral antibodies was observed in piglets after vaccination (p<0.05). |
Description: | โครงการที่ 1 : การศึกษาสถานภาพระดับภูมิคุ้มกันและการประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์สุกรในแม่และลูกสุกร -- โครงการที่ 2 : การพัฒนาวิธีวินิจฉัยโรคอหิวาต์สุกร -- โครงการที่ 3 : การพัฒนาวิธีผลิตวัคซีนอหิวาต์สุกรโดยใช้เซลล์เพาะเลี้ยง -- โครงการที่ 4 : การศึกษาระดับภูมิคุ้มกันที่สามารถป้องกันการเกิดโรคอหิวาต์สุกร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8812 |
ISBN: | 9743261214 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Vet - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prachin_res.pdf | 46.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.