Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9961
Title: กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยทางการจราจรในจังหวัดภูเก็ต
Other Titles: Communication strategies for safety traffic in Phuket provice
Authors: มนตรี สุดสม
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การสื่อสาร
ความปลอดภัยในท้องถนน
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
อุบัติเหตุทางถนน
การป้องกันอุบัติเหตุจราจร -- การประชาสัมพันธ์
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการวางแผนและกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยทางการจราจรในจังหวัดภูเก็ต ศึกษาแนวคิดการตลาดเพื่อสังคมในกลยุทธ์การสื่อสาร และแนวคิดการตลาดเพื่อสังคมที่ทำให้กลยุทธ์การสื่อสารสามารถเข้าถึงและได้รับการยอมรับจากกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งปัจจัยที่ส่งเสริมให้สามารถเข้าถึงและได้รับการยอมรับ ตลอดจนแสวงหาแนวทางการพัฒนากระบวนการวางแผนและกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยทางการจราจรในจังหวัดภูเก็ตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้บริหารโครงการจำนวน 10 คน และสนทนากลุ่มในกลุ่มเป้าหมายของโครงการ จำนวน 6 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการวางแผนและกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยทางการจราจร เป็นการวางแผนในลักษณะการวางแผนจากบนสู่ล่าง 2. กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยทางการจราจรประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อให้ความรู้ กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อให้ข่าวสาร และกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อชักจูงใจ 3. แนวคิดการตลาดเพื่อสังคมที่ใช้ในกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยทางการจราจร คือ การพัฒนาสินค้า การจัดจำหน่าย การกำหนดราคา การส่งเสริมสินค้า การนำเสนอสินค้า การใช้ตัวบุคคลและกระบวนการเข้าถึงสินค้า 4. แนวคิดการตลาดเพื่อสังคมที่ทำให้กลยุทธ์การสื่อสารสามารถเข้าถึง และได้รับการยอมรับจากกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ได้แก่ แนวคิดการพัฒนาสินค้าและแนวคิดการส่งเสริมสินค้า 5. ปัจจัยที่ส่งเสริมให้กลยุทธ์การสื่อสารสามารถเข้าถึงและได้รับการยอมรับ ได้แก่ การผูกขาดสื่อการสนับสนุนจากสังคม พลังแรงจูงใจของกลุ่มเป้าหมาย การทราบทิศทางการรณรงค์ กลไกในการบริการความพอเพียงของตัวแทนการเปลี่ยนแปลงและการประเมินระยะทางที่จะไปถึงแรงจูงใจของกลุ่มเป้าหมาย 6. การพัฒนากระบวนการวางแผนและกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยทางการจราจรในจังหวัดภูเก็ตให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการวางแผนและกลยุทธ์การตลาดเพื่อสังคมจะต้องเน้นจุดเด่นขององค์กรทางด้านประสบการณ์ ความพร้อม การประสานงานและระบบข้อมูลที่ดี และพยายามลดจุดด้วยโดยการศึกษาข้อมูลเชิงลึก ผลิตและบริหารการใช้สื่อโดยมืออาชีพ รวมทั้งพยายามใช้โอกาสทางด้านการสนับสนุนจากสังคมและลักษณะพื้นที่ที่เล็กสะดวกต่อการควบคุมให้เป็นประโยชน์ ตลอดจนขจัดปัญหาทางด้านงบประมาณและระยะเวลาที่ยาวนาน หรือการเผชิญหน้ากับสินค้าคู่แข่งและความซับซ้อนทางสังคม
Other Abstract: The purpose of this research was to study the planning process and communication strategies used in the Safety Traffic Project in Phuket province. Social marketing concept used in the project as well as the acceptance of the target group were also assessed. In-depth interview of 10 program managers and 6 focus groups of the project's target groups was used as the main methodology. The results are as follows : 1. The planning process in the Safety Traffic Project in Phuket province is top-down planning. 2. The communication strategies used in the Safety Traffic Project in Phuket province are (1) education transfer strategy (2) information publicity strategy and (3) persuasive strategy. 3. Social marketing strategy applied in the Safety Traffic Project are (1) product development (2) low price setting (3) availability of products in the province (4) product and sales promotion (5) appropriate time and access of product distribution (6) utilization of interpersonal media to reach the target group and (7) process of product reach. 4. Product development and promotion are two elements of strategy, which is highly accepted by the target group. 5. Factors which promote and obstruct media accessibility and acceptability, are (1) media monopolization (2) canalization (3) supplementation (4) driving force (5) direction (6) mechanism (7) adequacy and (8) distance. 6. To develop more efficient planning and strategy implementation, one has to focus on project's strengths and weaknesses. The strengths of project implementation are previous experience, good preparation, cooperation and efficient information system. The weakness that should be reduced are insufficient information, unskilled media, production and implementation. Moreover, social encouragement, small-scale project, adequate budget and project length of time are also motivating factors to the project achievement.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9961
ISBN: 9743314466
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Montri_Su_front.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Montri_Su_ch1.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Montri_Su_ch2.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open
Montri_Su_ch3.pdf882.25 kBAdobe PDFView/Open
Montri_Su_ch4.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open
Montri_Su_ch5.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Montri_Su_back.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.