Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48637
Title: | กลยุทธ์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและชุมชนเมืองในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี |
Other Titles: | Strategies for industrial and urban development in Si Racha District, Chon Buri Province |
Authors: | ลักษณา ชาวสวน |
Advisors: | ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อุตสาหกรรม -- สถานที่ตั้ง การใช้ที่ดินในเมือง -- ไทย -- ศรีราชา (ชลบุรี) การวางแผนพัฒนาระดับภาค การพัฒนาเศรษฐกิจ -- แง่สิ่งแวดล้อม การพัฒนาอุตสาหกรรม -- ไทย -- ชลบุรี ศรีราชา (ชลบุรี) -- อุตสาหกรรม |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของอุตสาหกรรมและชุมชนเมืองในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ศึกษาปัญหาสาธารณูปโภคสาธารณูปการ ปัญหาการใช้ที่ดินและปัญหาสิ่งแวดล้อมพร้อมกับเสนอแนะแนวทางการใช้ที่ดินและกลยุทธ์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและชุมชนเมือง วิธีการดำเนินการวิจัยอาศัยข้อมูลทุติยภูมิในการศึกษาจำนวนโรงงานที่ได้จดทะเบียนขึ้นเป็นโรงงานอุตสาหกรรมในอำเภอศรีราชาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 เป็นต้นมาโดยศึกษาแยกตามขนาดและประเภทอุตสาหกกรม การจ้างงาน ตลอดจนลักษณะทำเลที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละประเภทโดยการสำรวจภาคสนามและใช้วิธีการศึกษาการวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ (PSA : Potential Surfsce Analysis) ที่เหมาะสมในอนาคต ผลการวิจัยพบว่าพัฒนาการของอุตสาหกรรมและชุมชนในอำเภอศรีราชาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้ง การคมนาคม และโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก โดยเมื่อสิ้นสุดปี พ.ศ. 2537 โรงงานอุตสาหกรรมในอำเภอศรีราชามีจำนวนทั้งสิ้น 245 โรงงาน มีการจ้างงานกว่า 45,000 คน อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นอุตสากรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่มีการเกาะกลุ่มอยู่บริเวณริมถนนสุขุมวิท ถนนสุขาภิบาล 8 มีโรงงานประมาณ 130 โรงงานในรูปของสวนอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมเครื่องยนต์และจักรกล และอุตสาหกรรมยาง พลาสติกและหนังสัตว์ ถึงแม้ว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการจ้างงานแต่ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ได้แก่ ปัญหาต่อการพัฒนาเมือง เช่น ชุมชนแออัดบริเวณกลุ่มอุตสาหกรรมได้แก่ชุมชนบ้านอ่าวอุดมและชุมชนบ้านหนองขาม ปัญหาความไม่เพียงพอของสาธารณูปโภคสาธารณูปการบางอย่าง เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ การกำจัดขยะและน้ำเสียจากชุมชน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้แก่ ปัญหามลภาวะทางอากาศ ปัญหาน้ำเสียและปัญหากากสารพิษอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและชุมชนของอำเภอศรีราชา จากผลการศึกษาได้เสนอแนวทางการใช้ที่ดินควบคู่กับแนวทางการพัฒนาเมืองและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมโดยเสนอพื้นที่รองรับการขยายตัวของชุมชน การพัฒนาอุตสาหกรรม คลังสินค้า และการขนส่งให้ต่อเนื่องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินเดิม เพื่อใช้ประโยชน์จากการลงทุนพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังนอกจากนี้ยังเสนอกลยุทธ์โดยส่งเสริมให้จัดตั้งเขตการค้าเสรี การส่งเสริมกิจกรรมด้านการขนส่งและคลังสินค้า |
Other Abstract: | This research is aimed at the study of Industrial development, Urban evolution, Infrastructure, land used and environmental problem in Si Racha district, Chonburi province. Including the prospects of land use and strategies of industrial and urban development. 1) The secondary data was based on collecting number of manufacturing industries which has registered since 1969 in Si Racha district. 2) Size, Pattern and location of manufacturing were studied. 3) The ground servey and Potential Surface Analysis (PSA) have been done to recommend the future land use in this area. From the study, It was found that the rapid industrialization were resulted from location, transportation and the Eastern Sea Board project. After 1994, there are 245 factories in Si Racha district. Most of them were middle and large industries and located along Sukumvit road and Sukhapiban 8 road. There are about 130 factories located in industrial park and industrial estate. The significant industries are electronic, engine, plastic and leather goods industries. Morthan 45,000 people were employment. Although industry development create a lot of employment in this area but it also caused slum area in Ban Ao U-Dom and Ban Nong Kham. Infrastructure is not sufficient; electricity, water supply, telephone, garbages, and waste water from communities, Environmental problem from industrial development air pollution, water pollution and toxic solid waste in which influenced community and industrial development in Si Racha district. This study recommend the strategy of land use by the consideration of urban development and environmental management. The expansion of communities, industries storages and transportation facilities should be promoted which will benefit the investment of deep port of Laem Chabang. Futuremore, This study also recommend the free trade zone and transportation activities related to the deep sea ported to be set up in this area. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางผังเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48637 |
ISBN: | 9746329308 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Luxsana_ch_front.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Luxsana_ch_ch1.pdf | 810.97 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Luxsana_ch_ch2.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Luxsana_ch_ch3.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Luxsana_ch_ch4.pdf | 6.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Luxsana_ch_ch5.pdf | 4.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Luxsana_ch_ch6.pdf | 2.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Luxsana_ch_ch7.pdf | 4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Luxsana_ch_back.pdf | 3.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.